Skip navigation
SEI brief

also available in English

เรียนรู้จากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19: จะบูรณาการแรงงานข้ามชาติให้ดียิ่งขึ้นอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในประเทศไทย

ข้อสรุปเชิงนโยบายนี้อิงมาจากผลการศึกษา SEI เรื่องแรงงานข้ามชาติจากเมียนมาร์ในจังหวัดภูเก็ตและสมุทรสาคร ประเทศไทย ในประเด็นว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากการ ระบาดใหญ่ของโควิด-19 และจากการดําเนินมาตรการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่นี้อย่างไร

Photo: Naseem Buras / Unsplash.

Camille Pross, Robin Hocquet, Andreea Raluca Torre / Published on 11 July 2022
Citation

Pross, C., Hocquet, R., Torre, A. R. (2022). Learning from the pandemic: how to better integrate migrant workers in disaster risk reduction in Thailand. SEI policy brief. Stockholm Environment Institute. https://www.sei.org/publications/learning-from-the-pandemic-how-to-better-integrate-migrant-workers-in-disaster-risk-reduction-in-thailand

แม้ว่าการระบาดใหญ่จะต่างจากภัยธรรมชาติอื่นๆ แต่ก็ยังมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องที่ว่าประเทศต่างๆ และชุมชนต่างๆ มีการว่าการเตรียมตัวตอบสนองและฟื้นฟูจากสถานการณ์ เหล่านี้ได้อย่างไร กลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงานข้ามชาติยังคงมีความเสี่ยงเป็นพิเศษทั้งต่อการระบาดใหญ่และต่อภัยธรรมชาติอื่นๆ การดําเนินการเพื่อลดความเสี่ยงทั้งในบริบทของภัยธรรมชาติและการระบาดใหญ่ของโรคจําเป็นต้องคํานึงถึงความต้องการที่จําเพาะของผู้อพยพ นอกจากนี้การดําเนินการทางการเมืองในวงกว้างจําเป็นต้องแก้ที่ต้นเหตุของความเปราะบาง อันได้แก่ นโยบายต่างๆ ที่ยังมีไม่เพียงพอเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงาน การเลือกปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นบ่อนทําลายสภาพการทํางานและความเป็นอยู่ที่ดีและการเข้าถึงสิทธิทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน สิ่งเหล่านี้มีความสําคัญอย่างยิ่งเนื่องจากภัยธรรมชาติเป็นภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง จึงสร้างผลกระทบเพิ่มพูนขึ้นจากผลกระทบของโรคระบาดใหญ่และยิ่งทําให้คนชายขอบเปราะบางขึ้นอีก

เนื้อหาในข้อสรุปเชิงนโยบายเป็นการให้คําแนะนําในการปรับการวางแผน แนวนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (DRR) เพื่อให้เหมาะสมกับกรณีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเป็นการต่อยอดจากบทเรียนจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยหวังเป็นอย่าง ยิ่งว่าการมี DRR ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนกลุ่มต่างๆ และเน้นความมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานข้ามชาติและเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นคืนสู่สภาพปกติของสังคมในวงกว้างมากขึ้น

ข้อสรุปสําคัญ

  • การดําเนินงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของประเทศไทย (DRR) มักจะมองข้ามต้นเหตุของความเปราะบางของแรงงานข้ามชาติต่อภัยพิบัติในเรื่องนี้จะต้องมีการคิดทบทวนแนวนโยบายการย้ายถิ่นของแรงงานและการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่างๆ
  • มีการดําเนินมาตรการในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยคํานึงถึงแรงงานข้ามชาติด้วยการดําเนินการนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง มาตรการเหล่านี้บางส่วนสามารถนํามาดําเนินการได้ในสถานการณ์อื่นๆ นอกเหนือจากโรคระบาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้มี DRR ที่มีความครอบคลุมกลุ่มคนต่างๆ มากยิ่งขึ้น
  • มีความจําเป็นที่ต้องใช้แนวทางเชิงรุกและครอบคลุมกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าลักษณะของภัยพิบัตินั้นจะเป็นเช่นไร แนวทางการดําเนินการของ DDR ดังกล่าวนี้ต้องให้ความสําคัญกับสิทธมนุษยชนเป็นอันดับแรกโดยกําหนดนโยบายที่คํานึงถึงประสบการณ์ชีวิตของกลุ่มที่เปราะบางกลุ่มต่างๆ

SEI authors

Topics and subtopics
Climate : Climate policy, Disaster risk
Related centres
SEI Asia

Design and development by Soapbox.